เมนู

ด้วยประการฉะนี้ มรรคจึงชื่อว่า ย่อมออกไปจากอุปาทินน-
ขันธ์ และ อนุปาทินนขันธ์.

แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งภพแล้ว

โสดาปัตติมรรค

ย่อมออก
ไปจากอบายภูมิ.

สกทาคามิมรรค

ย่อมออกไปจากสุคติภพบางส่วน.
อรหัตตมรรค ย่อมออกไปจากรูปภพและอรูปภพ.

อาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า อรหัตตมรรค ย่อมออกไปจากภพทั้ง
หมดเลย ดังนี้ก็มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในขณะแห่งมรรค ภาวนาย่อม
มี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความตั้งมั่นแห่ง
ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไร. ตอบว่า ภาวนาย่อมมี เพราะความเป็น
ไปแห่งมรรคนั่นแหละ. จริงอยู่ มรรคเมื่อกำลังเป็นไป ท่านกล่าวว่า ไม่เคย
เกิดขึ้น เพราะความที่มรรคนั้นไม่เคยเกิดขึ้น เพราะความที่มรรคนั้นไม่เคย
เกิดแล้วในกาลก่อน. เหมือนชนทั้งหลายผู้ไปสู่ที่อันไม่เคยไป หรือเสวยอารมณ์
อันตนไม่เคยเสวยแล้ว เขาย่อมกล่าวว่า พวกเรามาแล้วสู่ที่อันไม่เคยมา หรือ
ว่า ย่อมเสวยอารมณ์อันไม่เคยเสวย ฉันนั้น. อนึ่ง ความเป็นไปแห่งมรรค
อันใด ชื่อว่าความตั้งมั่นก็อันนี้นั่นแหละ เพราะฉะนั้น การกล่าวว่า ย่อม
เจริญมรรคเพื่อความตั้งมั่น ดังนี้ ก็ควร.
ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค. ความเพียรของภิกษุนี้ ย่อมได้
ชื่อ 4 อย่าง ซึ่งมีคำว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺ-
มานํ อนุปาทาย เป็นอาทิ
ดังพรรณนามาฉะนี้. นี้เป็นสัมมัปปธานกถา
ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค.
ท่านชี้แจงสัมมัปปธานอันเจือด้วยโลกียะและโลกุตตระไว้ในสัมมัปป-
ธานวิภังค์นี้ด้วยประการฉะนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ